คนไทยส่วนใหญ่เป็นหนี้ แล้วจะทำยังไงให้หนี้นั้นหายไป

11 จำนวนผู้เข้าชม  | 

คนไทยส่วนใหญ่เป็นหนี้ แล้วจะทำยังไงให้หนี้นั้นหายไป

หนี้มีไว้ใช้ ไม่ได้มีไว้สะสม แล้วคุณล่ะ...มีแผนจะจัดการกับหนี้สินเชื่ออย่างไร

    “หนี้” เรื่องธรรมดา ที่กลายเป็นเรื่องใหญ่ ด้วยเพราะเวลานี้คือ ยุคที่ค่าครองชีพพุ่งขึ้นรายวัน แต่อัตราเงินเดือนกลับนิ่งสนิท คนไทยจำนวนมากยอมที่จะเป็น หนี้สินเชื่อ เพื่อเป็นทางออก ไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล หรือแม้แต่หนี้นอกระบบ ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยล่าสุดชี้ให้เห็นว่า คนไทยกว่า 70% มีหนี้สินไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แต่ความจริงก็คือ หนี้ไม่ใช่ผู้ร้ายเสมอไป การมีหนี้ไม่ได้หมายถึงการล้มเหลว แต่ขึ้นอยู่กับว่าเราจัดการกับมันได้แค่ไหน แล้วเราจะเริ่มต้นทำให้หนี้หายไปได้อย่างไร


ขั้นตอนโปกมือลาการเป็นหนี้ 


STEP 1 หยุดหลอกตัวเอง และ ยอมรับว่าเวลานี้มีหนี้เท่าไร อย่างตรงไปตรงมา

ก่อนจะแก้ปัญหา ต้องกล้ามองมันให้ชัดเสียก่อน 

  • หยิบสมุดโน้ตแล้วจดรายละเอียดหนี้สินเชื่อที่มีอยู่ทั้งหมด
  • แยกตามประเภทว่าหนี้ที่มีอยู่นั้นมีอะไรบ้าง บัตรเครดิต, สินเชื่อบ้าน, รถยนต์, หนี้บุคคล, หนี้นอกระบบ
  • เช็คยอดเงินต้น ดอกเบี้ยต่อปี, และงวดที่ต้องชำระในแต่ละเดือน

จากทั้งหมดนี้เราก็จะเห็นภาพรวมอย่างชัดเจนจะทำให้คุณเริ่มวางแผนได้ถูกต้อง และรู้ว่าหนี้ไหนควรจัดการก่อน


STEP 2 ประเมินรายได้รายจ่ายของตัวเองแบบไม่อายกระเป๋าตังค์

    มีคนเคยพูดไว้ว่าการวางแผนการเงิน คือการซื่อสัตย์กับเงินของตัวเองลองตั้งงบประมาณง่าย ๆ

  • รายได้ทั้งหมดต่อเดือน
  • รายจ่ายจำเป็น (ค่าเช่าบ้าน, ค่าน้ำ-ไฟ, ค่าเดินทาง)
  • รายจ่ายฟุ่มเฟือย (ของกินเล่น, เสื้อผ้า, ค่า Netflix)
  • ยอดหนี้ที่ต้องจ่าย

    เมื่อเห็นภาพชัดขึ้น คุณจะสามารถ ตัด หรือ ลด รายจ่ายบางอย่างเพื่อเอาเงินไปโปะหนี้ได้ เช่น ลดกาแฟแก้วละ 100 บาท เหลือเดือนละ 3 แก้ว ก็นำเงินส่วนนั้นไปจ่ายหนี้เพิ่มได้เป็นพันบาทต่อปี


STEP 3 ใช้วิธีการรวมหนี้ ให้เป็นประโยชน์

    หากคุณมีหนี้หลายทาง และเริ่มรู้สึกเหมือนหายใจไม่ทัน การใช้บริการรวมหนี้ หรือ Debt Consolidation อาจเป็นทางออกเช่น

  • ยื่นขอสินเชื่อส่วนบุคคลดอกเบี้ยต่ำเพื่อนำมาปิดหนี้บัตรเครดิตดอกเบี้ยสูง
  • เจรจากับธนาคารเพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้ หรือผ่อนชำระระยะยาวขึ้น

    การรวมหนี้ไม่ใช่การหนีหนี้ แต่มันคือการควบคุมหนี้ให้อยู่ในมือคุณมากขึ้น แต่ก่อนตัดสินใจควรเปรียบเทียบดอกเบี้ยและเงื่อนไขให้รอบคอบ เพราะบางครั้งการยืดระยะเวลาอาจทำให้จ่ายดอกเบี้ยรวมสูงขึ้น


STEP 4 เปลี่ยนจาก ใช้หนี้ เป็น ไล่ล่าหนี้

   คนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตแบบเดือนชนเดือน พอถึงวันจ่ายหนี้ก็จ่ายเท่าที่พอไหว แต่แนวคิดนี้จะทำให้หนี้ค้างอยู่นาน

ลองเปลี่ยนแนวคิดเป็น

  • จะหาเงินมาโปะหนี้เพิ่มเดือนละ 1,000 บาท
  • จะหางานเสริมเพื่อจ่ายหนี้ให้หมดใน 12 เดือน

   นี่คือจุดเปลี่ยนสำคัญที่จะเปลี่ยนคุณจากเหยื่อหนี้ เป็นผู้ล่าหนี้ งานเสริมอาจเริ่มจากของเล็ก ๆ เช่น ขายของออนไลน์, รับจ้างออกแบบโลโก้, เขียนบทความ, หรือทำอาหารขายในออฟฟิศ บางคนเริ่มจากรายได้เสริม 3,000 บาทต่อเดือน แล้วใน 6 เดือนต่อมาก็โปะหนี้ได้ครึ่งหนึ่ง นี่แหละคือพลังของการไม่อยู่เฉย


STEP 5 วางแผนอนาคต ให้หนี้ไม่หวนกลับมา

   การปลดหนี้อาจใช้เวลา 6 เดือน หรืออาจเป็นปี แต่สิ่งสำคัญคือห้ามกลับไปเป็นหนี้แบบเดิมอีก คุณอาจจะเคยล้มเพราะหนี้ แต่หากคุณเรียนรู้และเตรียมรับมือให้ดีกว่าเดิม หนี้จะเป็นบทเรียน ไม่ใช่กับดักซ้ำซาก ตั้งเป้าหมายทางการเงินระยะสั้นและระยะยาว เช่น

  • มีเงินฉุกเฉิน 3 เท่าของรายจ่ายต่อเดือน
  • เก็บเงินดาวน์บ้านภายใน 2 ปี
  • ลงทุนในกองทุนรวมแบบเสี่ยงต่ำเพื่อสร้างพอร์ตออมเงิน


สรุป หนี้ไม่ใช่จุดจบ แต่เป็นจุดเริ่มต้นของวินัยทางการเงิน

    หลายคนมีความคิดว่า ฉันเป็นหนี้...ก็แปลว่าฉันล้มเหลวในชีวิต แต่นั่นไม่ใช่ความจริง หนี้สินเชื่อ อาจเริ่มจากการช่วยเหลือฉุกเฉินหรือความฝันที่เราไขว่คว้า แต่มันจะกลายเป็นปัญหาเมื่อเราไม่จัดการกับมัน ขอเพียงคุณกล้าที่จะมองเห็นปัญหา แล้วลงมือแก้ไขด้วยความมุ่งมั่น หนี้ก็จะกลายเป็นแค่เรื่องในอดีต และถ้าคุณต้องการคำปรึกษาด้านการวางแผนทางการเงิน การปรับโครงสร้างหนี้ หรือกำลังมองหาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อรวมหนี้อย่างชาญฉลาด“มันนี่ฮับ” พร้อมเป็นเพื่อนคู่คิดทางการเงินของคุณทุกขั้นตอน มันนี่ ฮับ ที่พร้อมให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมงสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @moneyhub

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้