ติดหนี้สินเรื้อรัง จัดการอย่างไรก่อนเป็นหนี้เสีย

90 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ติดหนี้สินเรื้อรัง จัดการอย่างไรก่อนเป็นหนี้เสีย

   สำหรับมนุษย์เงินเดือนเรื่องหนึ่งที่เป็นเหมือนปัญหาทางคู่ขนานก็คือเรื่องของหนี้สิน เพราะปัจจุบันค่าใช้จ่ายสูงขึ้นสวนทางกับรายได้ ทำให้เงินเดือนเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย และบางคนต้องส่งเงินกลับไปให้ครอบครัวด้วย จึงต้องหาทางออกด้วยการขอกู้สินเชื่อจากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งในระบบ หรือแหล่งเงินกู้นอกระบบนั่นเอง ซึ่งหลายคนไม่รู้วิธีแก้ปัญหาจนปล่อยให้เป็นหนี้เรื้อรัง วันนี้เราจึงได้รวบรวมการจัดการปัญหาเรื่องหนี้สินก่อนที่จะเป็นหนี้เสียมาฝาก


หนี้เสียคืออะไร

   หนี้เสีย ก็คือหนี้ที่เมื่อถึงกำหนดแล้วแต่ไม่ได้รับการชำระตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา และไม่มีการติดต่อไปยังสถาบันทางการเงิน โดยปกติสัญญาในการขอสินเชื่อจะอยู่ที่ 90 วัน ตัวอย่างของหนี้เสียคือ 

  • หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เช่น เงินกู้เพื่อไปท่องเที่ยว เงินกู้เพื่อซื้อของฟุ่มเฟือย
  • หนี้ที่ไม่ผิดกำหนดชำระส่งผลให้เกิดการฟ้องร้อง ยึดทรัพย์ เสียเครดิต ติดบัญชีดำของธนาคาร ทำให้ชื่อเสียงทางการเงินไม่ดี กู้ไม่ผ่านในครั้งต่อไป
  • หนี้ที่อยู่นอกระบบ เช่น เงินกู้จากสถาบันการเงินที่อยู่นอกเครดิตบูโร เพราะต่อให้จ่ายหนี้ครบก็ไม่มีประวัติการชำระหนี้ อีกทั้งยังมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงและหากไม่สามารถชำระหนี้ได้ตรงตามกำหนดอาจใช้วิธีการทวงที่รุนแรงอีกด้วย


การบริหารจัดการหนี้ก้อนเล็กๆ ก่อนกลายเป็นหนี้ก้อนใหญ่ๆ

   ยังมีมนุษย์เงินเดือนจำนวนไม่น้อย ที่มีค่าใช้จ่ายจำนวนมากในแต่ละเดือน ไม่ว่าจะเป็นค่าบ้าน ค่ารถยนต์ที่ต้องส่งค่างวด ค่าเทอมหรือจะค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ ที่ต้องจ่าย ส่งผลให้การหมุนเงินในแต่ละเดือนเป็นไปอย่างยากลำบาก แล้วคนหนี้เยอะต้องจัดการเงินอย่างไรให้ไม่ต้องเผชิญกับปัญหาหมุนเงินไม่ทัน เรามีเคล็ดลับดี ๆ มาแนะนำกัน

  1. ลองเช็ครายการหนี้ที่มีอยู่ว่ามีอะไรบ้าง

       ก่อนจะเริ่มต้นปลดหนี้ ต้องรู้ก่อนว่ามีหนี้อะไรบ้าง เพราะบางคนอาจมีหนี้มากกว่า 1 เจ้า เมื่อลิสต์รายการหนี้ออกมาแล้ว จะทำให้วางแผนชำระหนี้ได้ตรงเวลา และเห็นภาพรวมการบริหารจัดหนี้ชัดเจนขึ้น อย่าลืมลิสต์รายการหนี้ที่เกิดจากการยืมกันระหว่างคนรู้จัก เช่น เพื่อน, ญาติ หรือคนในครอบครัวเข้าไปด้วย เพราะถึงแม้จะไม่มีการคิดดอกเบี้ยเหมือนกับหนี้สินอื่น ๆ แต่ก็ต้องหาทางชำระคืนหลังจากที่คุณปลดหนี้ดอกเบี้ยสูงๆ เสร็จเรียบร้อยเช่นกัน
  2. เรียงลำดับความสำคัญที่จะต้องชดใช้จากอัตราดอกเบี้ย

       หลังจากเช็กดูยอดหนี้ทั้งหมดแล้ว ก็มาจัดอันดับความสำคัญ โดยพิจารณาจากอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อแต่ละประเภท เช่น ปิดหนี้นอกระบบให้หมดก่อน เพราะอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าสินเชื่อในระบบ จากนั้นค่อยหาทางชำระหนี้ในระบบที่อัตราดอกเบี้ยสูงอย่างบัตรกดเงินสด หรือบัตรเครดิตเป็นอันดับต่อไป
  3. วางแผนชำระ

       ต่อมาเราก็มาเริ่มวางแผนผ่อนชำระเพื่อปลดหนี้กัน โดยกำหนดเป้าหมายเลยว่าแต่ละเดือน ควรมีการชำระหนี้อย่างน้อย 40-50% เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตในประจำวันจนกลายเป็นหนี้เพิ่มขึ้นมาอีก เช่น เงินเดือน 10,000 บาท ระดับการจ่ายหนี้ที่เหมาะสมต่อเดือน คือ 4,000-5,000 บาท
  4. เน้นชำระหนี้ก่อนใช้จ่ายเป็นอันดับแรก

       หลังจากเงินเดือนออก เชื่อว่าหลายคนคงอยากใช้จ่ายเพื่อให้รางวัลแก่ตนเอง แต่สำหรับผู้มีหนี้สินสิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรกคือ จ่ายหนี้ก่อนเริ่มใช้จ่าย ไม่อย่างนั้นแล้วมีโอกาสเผลอใช้เงินหมด จนไม่สามารถหาทางปลดหนี้ได้แน่นอน
  5. อย่าลืมวางแผนรายรับ-รายจ่าย

       วางแผนรายรับ-รายจ่าย ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะอย่าลืมว่าคุณต้องใช้ชีวิตถึงวันสิ้นเดือน ด้วยเงินที่เหลืออยู่หลังจากผ่อนชำระหนี้ออกไปแล้ว โดยคุณสามารถทำบัญชีรายรับรายจ่ายด้วยตนเอง เพื่อให้บริหารค่าใช้จ่ายในแต่ละวันเพียงพอจนถึงวันเงินเดือนออก การทำบัญชีรายรับรายจ่ายมีข้อควรรู้คือ ต้องจดบันทึกทุกรายการแม้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายเล็กน้อย แต่จะทำให้ประเมินแผนการเงินผิดพลาดไป และคุณควรลงรายการบัญชีอย่างสม่ำเสมอ โดยการพกพาสมุดเล่มเล็กติดตัว เพื่อป้องกันไม่ให้ลืมลงรายการใช้จ่าย
  6. ไม่ลืมที่จะเจรจาประนอมหนี้

       ถ้าต้องการปลดหนี้ ควรเลือกทำการเจรจาประนอนหนี้ ซี่งวิธีนี้จะทำให้ช่วยลดปัญหาหนี้สินรุนแรงได้ในระยะยาว แต่ให้หาทางเจรจากับเจ้าหนี้โดยอาจขอพักชำระหนี้ ขอขยายระยะเวลาผ่อนชำระ หรือเสนอเงื่อนไขอื่นๆ ที่คิดว่าจะสามารถจ่ายคืนเงินต้นได้
  7. ไม่หยุดหาเงินเพื่อชำระหนี้

       ทางแก้ไขปัญหาสุดคาสสิกแน่นอนว่าถ้าไม่มีเงินมาชำระหนี้เพราะรายได้ไม่เพียงพอ ก็จำเป็นต้องมองหาแหล่งรายได้อื่นๆ เช่น ทำงานเสริม หรือเปลี่ยนงานใหม่ และไม่ใช่แค่หาทางเพิ่มรายได้ การลดรายจ่ายก็สำคัญเช่นกัน โดยอาจพิจารณาลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ซึ่งจะช่วยให้มีเงินจ่ายหนี้เพิ่มอีกทาง
  8. เป็นหนี้ก็ต้องมีเงินออมเก็บไว้เพื่ออนาคต

       นอกจากจะปลดหนี้ ก็อย่าลืมเก็บเงินไว้สถานการณ์ฉุกเฉินด้วย เพราะอาจมีเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ เช่น ตกงานกะทันหัน หรือคนในครอบครัวป่วย ถ้าคุณไม่มีเงินออมเผื่อเอาไว้เลย ก็ไม่พ้นต้องไปกู้สินเชื่อใหม่ ทำให้การแก้ไขปัญหาหนี้สินเป็นเรื่องยุ่งยากยิ่งกว่าเดิม หักออมอย่างน้อย 3% ของรายได้เป็นประจำ แล้วฝากไว้ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูง หรือฝากเงินในบัญชีเงินฝากประจำก็ได้ เพียงแค่นี้ก็จะสามารถทำให้คุณมีเงินเก็บได้แล้ว

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้