ทำความรู้จักเครดิตบูโร และเรื่องที่คนมักจะเข้าใจผิด

211 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ทำความรู้จักเครดิตบูโร และเรื่องที่คนมักจะเข้าใจผิด

   หากคุณกำลังมองหาแหล่งเงินทุน, บัตรเครดิตสักใบ หรือต้องการจะซื้อสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงอย่าง บ้าน รถ คอนโด  ฯลฯ นั้น การยื่นขอสินเชื่อผ่านสถาบันทางการเงินต่าง ๆ หรือสินเชื่อที่ไม่ต้องใช้หลักประกันจากธนาคารอย่าง Non – Bank จึงเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยที่สุดที่เชื่อถือได้ แต่ก็ใช่ว่าทุกคนที่ยื่นขอกู้สินเชื่อ จะได้รับการอนุมัติจากธนาคารได้อย่างง่ายดาย เพราะนอกจากจะต้องมีคุณสมบัติ มีเอกสารทางการเงินต่าง ๆ ของผู้กู้ แล้วก็ยังจะต้องประเมินจากข้อมูลเครดิตบูโรเป็นหลักอีกด้วย ซึ่งนี่ก็คือเหตุผลสำคัญที่คุณควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ 


เครดิตบูโร จัดตั้งขึ้นเพื่ออะไร 

    มาทำความรู้จักกันว่า เครดิตบูโร คืออะไร แล้วมีการจัดเก็บข้อมูลนี้ไปทำไม เครดิตบูโร ก็คือ ข้อมูลทางการเงินของทุกคนที่มีสินเชื่อในระบบ หรือสินเชื่อที่เป็นผลิตภัณฑ์ของสถาบันทางการเงินที่จัดขึ้นมาอย่างถูกกฏหมาย โดยข้อมูลทั้งหมดที่นำมาใช้จะมีทั้งรายละเอียดของสัญญาในสินเชื่อ รายละเอียดของตัวเจ้าของบัญชีเครดิต รายละเอียดของสินเชื่อที่อนุมัติแล้วทั้งหมด ทั้งอดีตจนถึงปัจจุบัน ประวัติการส่งค่างวดจากทุกๆ สินเชื่อ ซึ่งข้อมูลจะมีอายุของการจัดเก็บอยู่ที่ 36 เดือน เหตุผลที่มีการเก็บประวัติต่าง ๆ เอาไว้เป็นฐานข้อมูลนั้น ก็เพื่อใช้ในกรณีที่เราเองมีความต้องการที่จะยื่นขอสินเชื่อ ทางด้านแหล่งเงินกู้นั้นๆ ก็จะเข้ามาดูพฤติกรรมการผ่อนชำระเดิมของเราว่า มีวินัยและมีความรับผิดชอบหรือไม่ หรือก็เพื่อเช็ครายละเอียดว่าเรานั้นมีสินเชื่อที่เป็นภาระหนี้สินอยู่ในปัจจุบันอยู่เท่าไหร่ และเมื่อเทียบกับเงินเดือนหรือรายได้ที่มี จะเพียงพอกับการผ่อนชำระค่างวดใหม่จากสินเชื่อที่กำลังยื่นอยู่หรือไม่ เพื่อใช้ในการพิจารณาว่าจะอนุมัติหรือไม่อนุมัติต่อไป


ข้อมูลเครดิตคืออะไร ใครเป็นคนเก็บ

   รายละเอียดทั้งหมดของข้อมูลเครดิตจะมีทั้งข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าและฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับสินเชื่อที่ได้รับการอนุมัติแล้ว โดยการเก็บรวบรวมรายละเอียดทุกอย่างนี้เป็นหน้าที่ของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติจำกัด ที่จะต้องเก็บประวัติการชำระจากทุกๆสินเชื่อของลูกค้าตั้งแต่เริ่มอนุมัติจนถึงปัจจุบัน


ตัวเลขสถานะ และความหมาย

    เมื่อคุณต้องการเช็คข้อมูลเครดิต ทางผู้เก็บข้อมูลก็จะส่งสรุปคุณภาพเครดิตของคุณออกมาเป็นเอกสารที่ภายในจะมีตัวเลขสถานะกำกับเอาไว้ซึ่งมีความหมายของรหัสต่างๆดังนี้

  • 10 หมายถึง บัญชีเครดิตปกติเพราะมีการชำระสินเชื่อได้ดีตรงเวลาและตรงตามเงื่อนไขโดยไม่มียอดการค้างชำระที่เกินกำหนดเวลา 30 วันเลย
  • 11 หมายถึง บ้านที่เครดิตนี้ได้มีการเคลียร์สินเชื่อทุกอย่างและทุกที่ไปหมดแล้วหรือเป็นการเปิดบัญชีที่ไม่ได้มียอด คงค้างไม่ได้เลย
  • 12 หมายถึง วันที่เครดิตมีการเปลี่ยนแปลงสัญญา และมีสถานะที่บ่งบอกว่ากำลังอยู่ในช่วงพักหนี้ตามนโยบายที่ทางและได้กำหนดให้สถาบันทางการเงินทุกที่ยกเว้นค่างวดของลูกค้าตามเงื่อนไขของสินเชื่อนั้นๆก่อนได้โดยไม่ถือว่าเป็นการค้างชำระแต่อย่างใด
  • 20 หมายถึง บัญชีเครดิตมีประวัติของการค้างชำระที่เกินกำหนด 90 วันและยังคงมียอดค้างที่ยังไม่ได้เคลียร์ให้เป็นปัจจุบัน


วิธีการเช็คเครดิตบูโรเบื้องต้น

     ทุกคนที่ต้องการทราบข้อมูลเครดิตของตัวเองก็สามารถขอตรวจสอบเครดิตบูโรเองได้โดยมีให้เลือก 3 วิธีคือ

  1. ตรวจสอบได้เองที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโรโดยยื่นบัตรประชาชนด้วยตนเอง ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล แบบรอรับได้เลย (จะมีค่าบริการ 100 บาท) 
  2. ตรวจสอบผ่านตู้ตรวจสอบเครดิตบูโรแล้วรับผลการรายงานสถานะผ่านทางอีเมล
  3. แจ้งรายงานผลผ่านทาง Mobile App ของสถาบันทางการเงินต่าง ๆ และรับผลผ่านทางอีเมล เช่น 
  • TMB TOUCH 
  • KKP e-Banking:  รับรายงานทางอีเมลได้ทันที
  • Krungthai Next : สามารถรับรผลการรายงานทางอีเมลภายใน 1 วัน

    
ความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับเครดิตบูโร 

  1. มีรายงานบัญชีเครดิตติดแบล็คลิสต์ จากการขอสินเชื่อแล้วไม่ผ่านการอนุมัติ โดยมีการเข้าใจผิดกันมากว่า ทางบริษัทข้อมูลเครดิต เป็นผู้ที่นำรายชื่อบัญชีให้อยู่ในสถานะแบล็คลิสต์ แต่ความเป็นจริงคือ หน้าที่ของบริษัท ข้อมูลเครดิตฯ มีแค่เพียงการเก็บข้อมูลสินเชื่อในทุกสถาบันของบัญชีเครดิตมาเก็บเอาไว้ และเมื่อมีรายงานการขอตรวจเช็คสถานะแจ้งมา ก็จะมีการคำนวณประวัติและรายละเอียดการชำระค่างวดในแต่ละงวด รวมทั้งเปอร์เซ็นต์ของการค้างชำระที่มีบ่อยครั้งหรือไม่ หรือ ชำระครบแล้วหรือยัง แล้วจึงสรุปผลออกมาเป็นรหัสตัวเลขยืนยันสถานะออกมานั่นเอง
  2. การแก้ไขบัญชีเครดิตติดแบล็คลิสต์นั้น จะต้องขึ้นอยู่กับทางบริษัท ข้อมูลเครดิต ซึ่งที่จริงแล้วไม่สามารถปลดล็อคได้ เพราะการปลดแบล็คลิสต์สามารถทำได้ก็ต่อเมื่อบัญชีมีการเคลียร์ยอดคงค้างทั้งหมด หรือมีการจ่ายยอดค้างชำระที่เกินกำหนด จนสินเชื่อนั้น ๆ เข้าสู่ระบบการผ่อนชำระแบบปกติคือเข้าสู่รอบบิลที่อัปเดตค่างวดในปัจจุบันเท่านั้น
  3. เหตุผลที่การขอสินเชื่อไม่ได้รับการอนุมัตินั้น ก็ด้วยเหตุผลมาจาก ข้อมูลเครดิตบูโรมีสถานะตัวเลขที่ไม่ปกติ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วขั้นตอนในการพิจารณาจะมีการนำข้อมูลต่าง ๆ มาอ้างอิงกัน ข้อมูลเครดิตก็เป็นเพียงแค่อีกหนึ่งฐานข้อมูลเท่านั้น ไม่สามารถนำมาสรุปเป็นผลการอนุมัติได้

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้