พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร ต้องต่อเมื่อไหร่ คุ้มครองอะไรบ้าง

153 จำนวนผู้เข้าชม  | 

พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร ต้องต่อเมื่อไหร่ คุ้มครองอะไรบ้าง

  พ.ร.บ.รถยนต์ เป็นประกันที่มีผลประโยชน์ครอบคลุมทุกคนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ จึงเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบผู้ครอบครองรถ จะต้องใส่ใจในการต่ออายุประกันรถยนต์ของตนเองเอาไว้เสมอ เพื่อให้ทุก ๆ สถานการณ์ที่ไม่คาดคิดนั้นมีทางแก้ไข หรือผ่อนหนักเป็นเบาได้ 



พ.ร.บ รถยนต์คืออะไร มีอายุคุ้มครองกี่ปี

    มาทำความเข้าใจในเรื่องที่ว่า พ.ร.บ รถยนต์ คืออะไร โดยพ.ร.บ.รถยนต์ ก็คือ การทำประกันภัยรถยนต์เพื่อคุ้มครองโดยรวมทั้งตัวรถยนต์ผู้โดยสารคนขับและผู้ประสบอุบัติเหตุด้วยเช่นเดียวกันโดยประกันรถยนต์นี้ถือเป็นประกันภาคบังคับมีผลบังคับทางกฎหมายโดยมีข้อกำหนดให้ผู้ที่ครอบครองรถที่มีชื่ออยู่ในเล่มทะเบียนจะต้องทำการต่ออายุประกันในทุกๆปีซึ่งก็รวมไปถึงการต่อภาษีรถยนต์ด้วยเพราะหากปล่อยให้ประกัน พ.ร.บ ขาดก็จะถือว่ามีความผิดทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ 2535 ที่มีความคุ้มครองอยู่ในระยะเวลา 1 ปี 


พ.ร.บ รถยนต์คุ้มครองอะไรบ้าง?

   สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับในการคุ้มครองจากพรบ. รถยนต์ ที่มีผลในทันที โดยยังไม่ต้องมีการพิสูจน์ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด หรือรอการประเมินมูลค่าความเสียหาย ซึ่งเงื่อนไขในความคุ้มครอง คือ

  • ค่ารักษาพยาบาลของผู้เสียหายในเหตุการณ์ ที่มีทั้ง ผู้ขับขี่ผู้โดยสารบุคคลอื่นๆที่ได้รับบาดเจ็บ รวมไปถึงการเข้ารักษาเป็นผู้ป่วยในของสถานพยาบาลที่อยู่ในเงื่อนไขของประกัน โดยไม่ต้องสำรองจ่ายก่อน ในส่วนของการเบิกจ่ายสำหรับค่ารักษาพยาบาลนี้ จะสามารถชดเชยได้ในวงเงินที่มีจำนวนไม่เกิน 30,000 บาท/คน 
  • การคุ้มครองเบื้องต้นที่ผู้เสียหายนั้น เข้ารักษาในสถานพยาบาลและได้รับบาดเจ็บจนเป็นเหตุให้ข้อเสียอวัยวะผู้การหรือทุพพลภาพ จะได้รับ เงินชดเชย 35,000 บาท/คน 
  • ในกรณีของผู้ที่เสียชีวิต จะมีการคุ้มครองเบื้องต้น ที่มีการชดเชยให้กับทางทายาท เป็นเงินค่าปลงศพในจำนวน 50,000 บาท/คน

แต่หากสรุปได้ว่าผู้เสียหายเป็นฝ่ายถูก ความคุ้มครองก็จะเปลี่ยนแปลงไป ดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาลที่สามารถเบิกจ่ายได้ในวงเงินไม่เกิน 80,000 บาท/คน 
  • ค่าชดเชยในกรณีต้องสูญเสียอวัยวะจะมีการชดเชยให้กับผู้เสียหายในวงเงินที่ไม่เท่ากัน โดย วงเงินของค่าสินไหมที่จะได้รับนั้นจะขึ้นอยู่กับว่า อวัยวะที่ต้องสูญเสียไปนั้นส่วนไหนของร่างกาย และ พิจารณาจากการได้รับผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำวันมากน้อยเพียงใด ยกตัวอย่างเช่น กันเสียอวัยวะไปข้างใดข้างหนึ่งจะชดเชยเป็นวงเงิน 25,000 บาท/คน แต่หากต้องสูญเสียอวัยวะไปทั้งสองข้าง เงินชดเชยสินไหมจะจ่ายให้ในจำนวน 500,000 บาท เป็นต้น 
  • ในกรณีของผู้เสียหายที่เสียชีวิต ทายาทโดยชอบทางกฎหมาย จะได้รับเงินสินไหมทดแทนเป็นค่าปลงศพ ในจำนวน 50,000 บาท
  • จ่ายเป็นค่าชดเชยให้กับผู้ประสบภัยที่จะต้องทำการรักษาตัวภายในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) ก็จะได้รับเงินเป็นรายวันตามระยะเวลาที่ได้เข้าพักรักษาในโรงพยาบาล คิดเป็นวันละ 200 บาท และชดเชยในไม่เกิน 20 วัน/คน 

ต่อพ.ร.บ.รถยนต์ ได้ที่ไหนและต้องใช้อะไรบ้าง

    ปัจจุบันการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ นั้นไม่ได้จำกัดเพียงแค่จะต้องเดินทางไปยัง สำนักงานขนส่งด้วยตนเองอีกแล้ว เพราะทุกคนสามารถ ต่อพ.ร.บ. ออนไลน์ได้เองง่าย ๆ หรือก็อาจจะเป็นจุดให้บริการของทางสำนักงานขนส่ง ที่ให้บริการอยู่ในตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป ไปรษณีย์ เคาน์เตอร์เซอร์วิส เป็นต้น 

    โดยการเลือกต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ผ่านออนไลน์ สามารถเข้าสู่ระบบเว็บไซต์ของทางกรมขนส่งทางบกได้เลย และกรอกรายละเอียดตามขั้นตอนหน้าเว็บไซต์ โดยขั้นตอนนี้จะรวมไปถึงไม่การโอนเงินที่เป็น ค่าใช้จ่ายสำหรับ การต่อพ.ร.บ.รถยนต์ อยู่ในนั้นด้วย แต่การต่อพ.ร.บ.รถยนต์นั้น จะมีข้อแตกต่างกันตามอายุของรถยนต์ ที่มีกำหนดอายุที่ 7 ปี การต่อ พ.ร.บ.จึงจะต้องใช้เอกสารและขั้นตอนที่ขึ้นอยู่กับว่าตัวรถยนต์มีอายุเกิน 7 ปีหรือไม่ 

  • ต่อพรบ.รถยนต์ไม่เกิน 7 ปี 
        สามารถเลือกใช้ ทั้งระบบออนไลน์และเดินทางไปยังสำนักงานขนส่งได้ทั่วประเทศ รวมทั้งจุดการเปิดให้บริการของทางสำนักขนส่งได้ทั่วไป โดยใช้เอกสารเพียง เล่มทะเบียนตัวจริง สำเนาเล่มทะเบียน และ บัตรประชาชน ในการยื่นต่อพ.ร.บ.รถยนต์ได้ทันที 
  • ต่อพ.ร.บ.รถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปี 
        ขั้นตอนและเอกสารสำหรับการต่อพรบรถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปีนั้น จะมีรายละเอียดที่มากกว่าปกติ นั่นคือ จะต้องนำใบรับรองการตรวจสภาพรถ ที่เจ้าของรถจะต้องรถยนต์ไปตรวจสภาพ กับทางสถานตรวจสภาพรถ หรือ (ตรอ.) ได้ทุกที่ใกล้บ้าน ซึ่งจะต้องเป็นที่ที่ได้การรับรองคุณภาพของการตรวจสอบจากกรมการขนส่งทางบกด้วย และขั้นตอนอื่น ๆ จะมี 
  1. สำเนาสมุดคู่มือจดทะเบียนรถ     
  2. ใบรับรองการตรวจสภาพรถที่ออกโดย  (ตรอ) ล่าสุด
  3. ค่าใช้จ่ายสำหรับการจ่ายภาษี พ.ร.บ.รถยนต์ตามประเภทของตัวรถ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้